ถึงแม้ว่าถั่วเหลืองจะเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่หลาย ๆ คนโปรดปราน แต่ก็ยังพบคำถามเกี่ยวกับถั่วเหลืองที่สร้างความสงสัยให้แก่ผู้รับประทาน เช่น มีฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือไม่? ถั่วเหลืองเชื่อมโยงกับมะเร็งเต้านมหรือไม่? อันที่จริงแล้วถั่วเหลืองอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย รวมทั้งโปรตีน ซึ่งทำให้ถั่วเหลืองเป็นที่สนใจสำหรับผู้เน้นการรับประทานอาหารจากพืชโดยเฉพาะอาหารมังสวิรัติ นอกจากนี้แล้ว ถั่วเหลืองยังให้ใยอาหาร แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก

ถั่วเหลืองมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?
ถั่วเหลืองช่วยสร้างกระดูกให้แข็งแรงเนื่องจากมีไอโซฟลาโวนและส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งแคลเซียมที่พบได้ตามธรรมชาติในถั่วเหลือง นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองอาจลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี อีกทั้งการบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองและไอโซฟลาโวนช่วยลดความดันโลหิตได้ นอกนี้ยังพบการรายงานว่า ถั่วเหลืองช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิด รวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ทีมวิจัยบางคนได้ตั้งข้อสังเกตถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและมีผลดีต่อการทำงานของไตสุขภาพผิวและสุขภาพจิต อาหารจากถั่วเหลืองมีหลายประเภทโดยวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ได้แก่ นมถั่วเหลือง เต้าหู้ และอาหารหมักเช่น เทมเป้ นอกจากนี้ ถั่วเหลืองยังใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ “คล้ายเนื้อสัตว์” ตั้งแต่เบอร์เกอร์ที่ทำจากถั่วเหลืองไปจนถึงครัมเบิลเพื่อใช้ในการบรรจุทาโก้
ถั่วเหลืองกับเอสโตรเจนและมะเร็งเต้านม
บางครั้งมีการแชร์ข้อมูลว่า อาหารจากถั่วเหลืองมีฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ความเป็นจริงคือ อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่มีไอโซฟลาโวนซึ่งก็คือ ไฟโตเอสโทรเจน หรือเอสโตรเจนพืช ที่มีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ทำงานได้ด้อยกว่า จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่าผู้หญิงเอเชียที่บริโภคอาหารจากถั่วเหลืองในปริมาณที่สูงขึ้นจะมีอุบัติการณ์ของโรคกระดูกพรุน ส่วนความเชื่อมโยงระหว่างถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านมนั้น มีงานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมอาจลดความเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำได้ด้วยการบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณเล็กน้อย (เช่น นมถั่วเหลือง 1/2 ถ้วยต่อวัน) งานวิจัยอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าการทานถั่วเหลืองตั้งแต่เนิ่นๆ อาจลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในภายหลังได้
อย่างไรก็ตาม ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ทั่วไป ดังนั้นอาหารใดๆ ที่มีถั่วเหลืองจะต้องแสดงบนฉลากว่า “มีถั่วเหลือง” พร้อมกับข้อความส่วนผสมบนฉลากอาหาร บางครั้งอาการแพ้ถั่วเหลืองอาจไม่รุนแรงโดยมีอาการเช่น ลมพิษ คัน คลื่นไส้หรืออาเจียน แต่กับบางคนการรับประทานถั่วเหลืองอาจก่อให้เกิดอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารใดๆ ต้องให้ความสำคัญกับความหลากหลายของอาหาร หากคุณให้ความสำคัญกับอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปคุณอาจพลาดสารอาหารที่จำเป็นในอาหารเพื่อสุขภาพโดยรวม
เครดิตภาพจาก pixabay.com
#อาหารเสริมพลัง #ความรู้เรื่องโรค #ถั่วเหลืองดีอย่างไร