เครียดลงกระเพาะ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความคิดและจิตใจ

เครียดลงกระเพาะ ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากความคิดและจิตใจ 

พูดถึงคำว่าเครียดหลายคนอาจจะนึกถึงความหมายในแง่ลบ แต่ความจริงแล้วในเชิงจิตวิทยานั้นความเครียดไม่ได้มีแค่ผลเสียอย่างเดียวแต่อย่างใดหากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมันเป็นการกระตุ้นตัวเองชั้นดีของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราพัฒนาตนเองและสามารถเอาชีวิตรอดต่อไปได้ ช่วยให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้น ดีขึ้น แต่หากมีในปริมาณที่มากจนเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งจิตใจและร่างกาย เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาเครียดลงกระเพาะจนกลายเป็นโรคประจำตัว เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคดังกล่าวให้มากขึ้นกัน

เครียดลงกระเพาะคืออะไร อาการเป็นอย่างไรบ้าง 

รูปภาพประกอบด้วย บุคคล

คำอธิบายที่สร้างโดยอัตโนมัติ

เรารู้จักโรคกระเพาะในฐานะของโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หากคุณรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาจะทำให้ปวดท้องหรือบริเวณช่องอก นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับคนที่รับประทานอาหารรสจัดได้อีกด้วย ซึ่งอาการเครียดลงกระเพาะนั้นจะสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นกระเพาะอยู่แล้ว เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเรามีความเครียดสะสม ร่างกายก็จะสั่งให้กระเพาะทำการหลั่งน้ำย่อยออกมาเป็นจำนวนมากกว่าปกติทั่วไป น้ำย่อยเหล่านั้นจะกัดกระเพาะจนทำให้เรารู้สึกปวดท้อง นอกจากนี้ยังอาจจะก่อให้เกิดปัญหากรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน รวมไปถึงอาหารไม่ย่อยอีกต่างหาก อาการส่วนใหญ่สำหรับคนที่เครียดจนลงกระเพาะจะประกอบไปด้วยรู้สึกปวดแสบบริเวณท้องและลิ้นปี่ แต่อาการจะดีขึ้นหากรับประทานอะไรลงไป อาจมีคลื่นไส้อาเจียนหลังรับประทานอาหาร รู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนมีลมเป็นจำนวนมากอยู่ในกระเพาะอาหาร เรอมีกลิ่นน้ำย่อย ขับถ่ายหรืออาเจียนออกมามีสีดำปนอยู่ อาจเกิดจากการที่เลือดออกในกระเพาะอาหาร หากพบว่าเป็นให้รีบพบแพทย์โดยด่วนเนื่องจากอาการหนักแล้ว ส่วนสัญญาณที่จะช่วยเตือนว่าเรากำลังเครียดจนเกินไปนั้นมีอยู่หลายอย่างเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกคลื่นไส้ ขนลุกเนื่องจากเส้นเลือดฝอยที่อยู่บริเวณใต้ผิวหนังเกิดการหดตัว รู้สึกอยากอาหารมากเป็นพิเศษเพราะต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนที่เร่งกระบวนการเผาผลาญออกมามากขึ้นกว่าเดิม หรือหายใจเร็วขึ้น 

รักษาอาการเครียดลงกระเพาะอย่างไรให้ดีขึ้น 

หากคุณประสบปัญหาอาการเครียดลงกระเพาะแบบเรื้อรังมาอย่างยาวนาน เราสามารถรักษาอาการดังกล่าวและดูแลตัวเองได้ด้วยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 3 มื้อเป็นประจำทุกวันเพื่อให้ร่างกายได้เรียนรู้เวลาที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการหลั่งน้ำย่อย พยายามหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของดอง อาหารทอด และอาหารที่ย่อยได้ยาก งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม ออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของเราเล็งสารเอ็นโดรฟินที่จะช่วยคลายเครียดได้เป็นอย่างดี หรือหากิจกรรมคลายเครียดเพื่อลดความหมกมุ่นกับความคิดของตนเองจนกลายเป็นความเครียดก็ได้เช่นเดียวกัน 

#การดูแลตัวเอง #ความรู้เรื่องโรค #เครียดลงกระเพาะ