มีอยู่ยุคหนึ่งที่คำว่าหมดไฟหรือหมด PASSION ได้รับความนิยมในสังคมเป็นอย่างมากซึ่งอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดมาจากความขี้เกียจแต่อย่างใด เราสามารถรู้สึกเหนื่อยล้าได้เมื่อมีความผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจ หากคุณเป็นคนที่ประสบปัญหารู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา เราจะพาทุกคนมาดูถึงสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้นกันและหาวิธีการป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดอาการแบบนี้ต่อไปในอนาคตความสามารถทำอย่างไรได้บ้าง
เรื่องสาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา
- พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารนั้นส่งผลต่อความเหนื่อยล้าของร่างกายได้มากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีมาแล้วไม่ว่าจะเป็นข้าวขาวขัดสี หรือแม้แต่น้ำตาลอย่างเช่นน้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำตาลทรายขาว เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตที่ขัดสีเป็นที่เรียบร้อยแล้วจะไม่มีสารอาหารสำคัญอย่างวิตามิน แร่ธาตุ รวมไปถึงไฟเบอร์ ที่เรารับประทานเข้าไปนั้นจะมีเพียงแค่พลังงานอย่างเดียว เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว ตับจำเป็นต้องผลิตอินซูลินเพื่อกำจัดน้ำตาลออกจากเลือด พอเวลาผ่านไปเราก็จะน้ำตาลตกและทำให้รู้สึกหมดแรงในที่สุด ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถเกิดได้จากการที่เรารับประทานโปรตีนไม่เพียงพออีกด้วย
- ภาวะเนือยนิ่ง เป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นในกลุ่มของคนวัยกลางคนรวมไปถึงผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันมันก็สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยรุ่นเช่นเดียวกัน เป็นพฤติกรรมที่อยู่นิ่งกับที่ ไม่เว้นแม้กระทั่งการนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ก็ตามโดยที่เราไม่ได้ออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้าแบบเรื้อรัง
- การนอนหลับ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้เราฟื้นจากอาการเหนื่อยได้เป็นอย่างดี แต่หากการนอนหลับของเราไม่มีคุณภาพมันก็ไม่ช่วยแต่อย่างใด ซึ่งการจะนอนหลับให้มีคุณภาพนั้นจะต้องดูปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงการนอน คุณภาพไม่ว่าจะเป็นระยะหลับตื้น หลับลึก หรือหลับฝัน
- มีความเครียด ความเครียดในระดับที่พอดีจะช่วยให้เราพัฒนาตัวเองเป็นคนที่ดีขึ้น แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีมากจนเกินไปมันจะส่งผลกระทบทางร่างกายและจิตใจ มีผลวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดนั้นสามารถเชื่อมโยงกับอาการเหนื่อยได้
วิธีการแก้ไขอาการรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลาให้ได้ผล
หากคุณรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่ตลอดเวลาและไม่อยากจะเป็นแบบนั้นขอให้เริ่มต้นด้วยการปรับพฤติกรรมการกินไม่ว่าจะเป็นการหันมารับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี การรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ จัดอาหารให้ได้รับสารอาหาร 5 หมู่อย่างเหมาะสม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการนั่งหน้าจอมาเดินไปมาบ้าง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วยการงดเครื่องดื่ม งดสูบบุหรี่ งดอาหารก่อนนอน 2 ชั่วโมง อย่าเล่นมือถือก่อนนอน นอนหลับให้เป็นเวลา จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การจัดการกับความเครียดอย่างเช่นการวางแผน การทำกิจกรรมที่เราชอบ
#ความรู้ #โรค #เหนื่อยล้า