อาหารติดคอ อาการบ้านๆ ที่อาจจะทำให้คุณจากโลกใบนี้ไปตลอดกาล

อาหารติดคอ อาการบ้านๆ ที่อาจจะทำให้คุณจากโลกใบนี้ไปตลอดกาล

มนุษย์นั้นมีร่างกายที่เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องปกติหากจะเกิดความผิดพลาดขึ้นบ้าง แต่ความผิดพลาดบางอย่างก็สามารถส่งเราไปอยู่ในโลกหลังความตายได้เลยทีเดียวอย่างเช่นอาหารติดคอเป็นต้น อาการดังกล่าวนั้นสามารถเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้มากกว่าวัยอื่น โดยเฉพาะหากรับประทานอาหารชิ้นใหญ่เกินไปแล้วกลืนลงคอจนทำให้สำลักขึ้นมา เราจึงจะพาทุกคนไปดูกันว่าจะมีวิธีการปฐมพยาบาลผู้ที่อาหารเข้าไปติดในคออย่างไรให้ปลอดภัยรวมไปถึงวิธีป้องกันไม่ให้อาหารเข้ามาติดในคอของเรา 

เปิดวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อมีผู้ป่วยอาหารติดคอ 

  1. หากเราพบว่าผู้ที่กำลังร่วมโต๊ะรับประทานอาหารหรือผู้ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงของเรามีอาการทรมาน ส่งเสียงไม่ออก พยายามไอจนเห็นได้ชัดว่าอาหารติดคอ ให้ทุกบริเวณด้านหลังระหว่างไหล่ทั้งสองข้างด้วยแรงพอประมาณ 5 ครั้ง หากอาหารยังไม่ได้ลงเข้าไปลึกมากก็อาจจะสามารถหลุดออกมาทางปากได้ 
  2. หากทำวิธีการแรกเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่อาหารยังไม่ออกมาให้เข้าไปซ้อนตัวอยู่ด้านหลังผู้ป่วยแล้วโอบแขนจากทางด้านหลัง หลังจากนั้นให้นำเอามือประสานการกดไปบริเวณหน้าอก พยายามออกแรงเล็กน้อยเพื่อเขย่าตัวให้ผู้ป่วยนั้นสำลักอาหารที่ติดอยู่ในคอออกมา 
  3. ให้ทำวิธีดังกล่าวภายในระยะเวลาประมาณ 3 นาทีถึง 5 นาทีที่มีการแสดงอาการเนื่องจากหากไม่ทันอาจอันตรายถึงชีวิตได้ 
  4. หากผู้ป่วยเริ่มหายใจไม่ออกและพูดไม่ได้ให้รีบจับผู้ป่วยนอนหงายลงบนพื้น หลังจากนั้นเปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น อีกมือหนึ่งให้กดหน้าผากลง หลังจากนั้นเป่าปากเพื่อเป็นการช่วยหายใจ แต่หักเปล่าๆเข้าไปแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้นมาให้นำเอามือไปกดที่ท้องประมาณ 6-10 ครั้ง 
  5. หากเป็นเด็กให้ตบระหว่างสะบักทั้งสองข้างพร้อมกับสลับกดหน้าอก ต้องคอยตรวจเช็คบริเวณช่องปากด้วยว่ามีสิ่งแปลกปลอมออกมาหรือไม่ หากพบว่ามีสิ่งแปลกปลอมออกมาให้ใช้นิ้วเขี่ยออก
  1. หากผู้ป่วยสามารถพูดจาและหายใจได้ตามปกติ กลับมารู้สึกตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่รู้สึกว่ายังคงมีอาหารหลงเหลืออยู่ในคอให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน 

วิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหาอาหารติดคอ 

ปัญหาอาหารติดคอนั้นอาจจะอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียวโดยเฉพาะหากช่วยเหลือไม่ถูกวิธีและช่วยเหลือไม่ทันการ ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการนั่งตัวตรงขณะรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วห้ามนอนลงในทันที ให้รับประทานอาหารช้าๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่ควรรับประทานอาหารขณะที่รีบหรือเหนื่อย ควรรับประทานอาหารโดยแบ่งเป็นชิ้นเล็กขนาดพอดีคำ ลดการรบกวนขนาดรับประทานอาหารอย่างเช่นการเดินหรือการพูดคุย รับประทานอาหารเพียงคำละ 1 ชนิด รับประทานอาหารสลับกันอย่างเช่นอาหารเหลวกับอาหารที่ต้องเคี้ยว และหลีกเลี่ยงอาหารที่แห้งจนเกินไป 

#สุขภาพ #ดูแลตัวเอง #อาหารติดคอ