ไข้หวัดใหญ่ อาการป่วยตามฤดูกาลที่ทั้งเหมือนและแตกต่างจากโควิด 19

ไข้หวัดใหญ่ อาการป่วยตามฤดูกาลที่ทั้งเหมือนและแตกต่างจากโควิด 19

ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสน้องใหม่อย่างโรคโควิด 19 เราต่างมีโรคประจำถิ่นในแต่ละท้องที่เป็นของตัวเองอยู่แล้ว สำหรับในประเทศไทยนั้นโลกที่ดูเหมือนจะมีความใกล้เคียงกับโควิด 19 มากที่สุดอีกโรคหนึ่งก็คือไข้หวัดใหญ่นั่นเอง มันเป็นอาการป่วยตามฤดูกาลที่ติดต่อผ่านทางระบบทางเดินหายใจเหมือนกัน อาการที่ออกมานั้นก็มีความคล้ายคลึงกันไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ความเป็นจริงแล้วมันคือโรคคนละชนิดกัน เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรครุ่นพี่โควิด 19 กันว่ามันคืออะไรกันแน่และจะมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่มีความคล้ายคลึงกับโควิด 19

โรคไข้หวัดใหญ่นั้นเป็นอาการป่วยตามฤดูกาลที่อาการนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกับโรคน้องใหม่อย่างโควิด 19 ไม่น้อยเลยทีเดียว มันเป็นโรคติดต่อบนระบบทางเดินหายใจแต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่เชื้อไวรัสที่ติดในร่างกายของเรานั้นเป็นคนละชนิดกัน การป่วยเป็นไข้หวัดหมายถึงคุณติดเชื้อไวรัสไข้หวัด สำหรับการป่วยเป็นโรคโควิดนั้นก็จะเกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หากเปรียบเทียบความติดยากง่ายโควิดนั้นถือว่าสามารถแพร่กระจายรวมไปถึงติดต่อได้ง่ายกว่าโรคไข้หวัดเยอะ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้แปลว่าโอกาสที่คุณจะติดโรคไข้หวัดจะน้อยแต่อย่างใดเพราะมันก็สามารถติดต่อได้ง่ายไม่แพ้กัน สำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงนั้นจะมีอาการไม่ค่อยรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วก็จะส่งผลเบื้องต้นอย่างเช่นรู้สึกไม่สบาย ปวดหัว มีไข้สูง 37.8 องศาเซลเซียสขึ้นไป รู้สึกปวดเมื่อยทั่วทั้งร่างกาย มีอาการไอแห้ง รู้สึกอ่อนเพลีย เจ็บคอ คัดจมูก ในบางรายโดยเฉพาะเด็กอาจจะพบว่ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนหรือท้องเสียตามมาได้ ความรุนแรงของโรคก็จะต่างกันออกไปตามความแข็งแรงของร่างกาย หากเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำก็อาจจะมีอาการที่แย่กว่าคนที่มีร่างกายแข็งแรง สำหรับคนที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อป่วยเป็นโรคดังกล่าวนั้นก็จะมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีลงไป ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สตรีมีครรภ์ ภาวะอ้วน ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว แล้วผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดต่อส่วนใหญ่จะมาจากละอองฝอยทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เชื้อไวรัสจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-4 วันหลังจากที่สัมผัสโรค หลังจากนั้นเชื้อก็จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นและแพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงแพร่กระจายไปให้ผู้อื่น แต่หลังจากนั้นประมาณ 5-10 วันเชื้อก็จะมีปริมาณลดลงจะไม่สามารถตรวจพบได้เลยทีเดียว 

เปิดวิธีการป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ 

หากคุณไม่อยากป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ก็มีวิธีการป้องกันเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการดูแลความสะอาดและสุขอนามัย ดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่หรือการออกกำลังกาย ล้างมือเป็นประจำก่อนที่จะสัมผัสใบหน้า รับประทานอาหารที่สะอาด หรือจะฉีดวัคซีนป้องกันก็ได้เช่นเดียวกัน โดยจะฉีดเพียงแค่ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ในประเทศไทยจะนิยมฉีดกันก่อนเข้าสู่ฤดูฝน

#การดูแลตัวเอง #รู้ทันโรค #ไข้หวัดใหญ่