YOU ARE WHAT YOU EAT นั้นเป็นประโยคที่ไม่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะอาหารไม่ได้ส่งผลถึงเฉพาะสุขภาพร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสารอาหารอยู่หลายตัวเลยทีเดียวที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ประกอบกับชีวิตของเราทุกวันนี้ที่เต็มไปด้วยความตึงเครียดมากมาย มันคงจะดีไม่น้อยหากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้นช่วยให้เรารู้สึกสบายใจและมีความสุขมากขึ้น เราจึงจะพาทุกคนมาแนะนำให้รู้จักกับเซโรโทนินสารสื่อสมองที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี จะมีอาหารใดที่ช่วยกระตุ้นสารดังกล่าวได้บ้าง ไปดูกันเลย
รวมอาหารที่มีส่วนประกอบของเซโรโทนินช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า
- ไข่ อาหารง่ายๆ ราคาประหยัดที่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมายแถมยังมีเซโรโทนินอีกด้วย เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะรู้สึกอิ่มท้องและยังรู้สึกผ่อนคลายได้อีกต่างหาก มีโปรตีนสูงทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และยังสามารถเพิ่มระดับพลาสมาในเส้นเลือดของเราได้อีกด้วย
- ถั่วเหลืองและเต้าหู้ เป็นธัญพืชที่อุดมไปด้วยสารทริปเปอร์เฟนซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มระดับของสารสื่อประสาทในสมอง ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและจิตใจแจ่มใสมากขึ้นกว่าเดิม
- นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนและมีแคลเซียมสูง ทำให้ทั้งกล้ามเนื้อรวมไปถึงกระดูกและฟันมีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ในนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมยังช่วยให้ร่างกายของเราสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้มากขึ้นกว่าเดิม เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจึงทำให้เรารู้สึกอบอุ่นขึ้นมา
- สับปะรด เป็นผลไม้รสชาติเปรี้ยวอมหวานที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวิตามินและเกลือแร่มากมายที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มไปด้วยกากใยอาหารที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย นอกจากนี้ยังมีสารทริปโตเฟนที่สามารถช่วยเพิ่มการสร้างสารสื่อประสาทในสมองได้อีกต่างหาก
ความสำคัญของเซโรโทนินที่ช่วยให้คุณห่างไกลจากภาวะซึมเศร้า
เซโรโทนินนั้นเป็นสารที่อยู่ในอาหารมากมายหลากหลายชนิด นับเป็นหนึ่งในสารสื่อประสาทที่ร่างกายของเราสามารถผลิตขึ้นเองได้หรือจะรับจากการรับประทานอาหารก็ได้เช่นเดียวกัน หน้าที่ของมันก็คือการทำงานเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์และความรู้สึก สามารถช่วยควบคุมความหิวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกง่วงได้อีกด้วย เวลารับประทานเข้าไปแล้วจึงรู้สึกหลับสบาย ด้วยเหตุนี้เมื่อไหร่ก็ตามที่ระดับของสารดังกล่าวลดต่ำลงก็จะทำให้ความรู้สึกหรืออารมณ์ของเราถดถอยเป็นในแง่ลบไปแทน ก่อให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด ความเครียด หรือแม้แต่การเป็นภาวะซึมเศร้า
#ซึมเศร้า #การดูแลสุขภาพ #รู้ทันโรค