<strong>นิ้วล็อค</strong> ปัญหาสุขภาพของคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมาร์ทโฟนอยู่เป็นประจำ

ร่างกายของมนุษย์นั้นได้รับการออกแบบมาอย่างชาญฉลาด ด้วยเหตุผลที่ต้องการจะให้เผ่าพันธุ์มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่ว่าโลกจะเกิดความเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหนในด้านใดก็ตาม ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำอะไรหากทำติดต่อกันเป็นเวลานานกล้ามเนื้อก็จะจดจำและติดอยู่ในท่านั้น ซึ่งบางครั้งมันก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดีเช่นเดียวกันอย่างเช่นอาการที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้นั่นก็คืออาการนิ้วล็อคนั่นเอง มันเป็นอาการที่ผู้คนในยุคปัจจุบันต้องเผชิญจากการใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน มีอาชีพไหนที่เสี่ยงจะเป็นโรคดังกล่าวบ้างและอาการในแต่ละระยะเป็นอย่างไรไปดูกัน ทำความรู้จักกับโรคนิ้วล็อค อาชีพไหนเสี่ยง ระยะไหนต้องพบแพทย์ไปดูกัน โรคนิ้วล็อคนั้นเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนในปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตของเราที่ต้องใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในท่าเดิมซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานวันละหลายชั่วโมงอย่างเช่นคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าวมากกว่าใครเพื่อนก็จะประกอบไปด้วยพนักงานที่ต้องพิมพ์เอกสารติดต่อกันเป็นเวลานานหรือต้องพิมพ์เป็นจำนวนมาก ทันตแพทย์ นักออกแบบ แม่บ้านที่ต้องถือของหนักหรือบิดผ้าบ่อยๆ ช่างฝีมือ คนสวย คนงาน นักกีฬาที่ต้องจับอุปกรณ์แน่นอยู่ตลอดเวลาอย่างเช่นปั่นจักรยานหรือการเล่นแบดมินตัน รวมไปถึงคนที่ชื่นชอบการเล่นแท็บเล็ตหรืออุปกรณ์มือถือที่ต้องถือให้มั่นคงอยู่เสมอ สำหรับอาการนั้นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือจะปวดฝ่ามือใกล้กับโคนนิ้ว ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนนิ้วได้อย่างสะดวก รู้สึกติดขัดหรือสะดุดเวลาที่ต้องการจะขยับนิ้ว มีอาการทั้งหมด 4 ระยะประกอบไปด้วย นิ้วล็อค ปัญหาสุขภาพที่แก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ปัญหานิ้วล็อคนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราจึงสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมืออย่างเช่นการถือของหรือหิ้วของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป หากจำเป็นต้องใช้งานนิ้วมือในการทำงานให้มีการพักเป็นระยะขณะที่ทำงานอยู่ คอยออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อบริเวณมืออยู่เป็นประจำอย่างเช่นการใช้ลูกบอลบีบ หากต้องใช้มือจับของที่อาศัยความแน่นหนาอย่างเช่นการเล่นกีฬาหรือการทำสวนให้สวมถุงมือหรือนำเอาผ้าขนหนูนุ่มๆ พันรอบสิ่งที่เราจะจับเพื่อลดแรงกระแทก หากมีปัญหาการเคลื่อนไหวนิ้วมือให้แช่น้ำอุ่นในช่วงเช้าจะช่วยแก้ไขปัญหาข้อฝืดได้ #นิ้วล็อค #การดูแลตัวเอง #สุขภาพน่ารู้