ความเชื่อมโยงระหว่างใยอาหารกับภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะสุขภาพจิตที่พบบ่อยและร้ายแรงซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวันของบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้อีกด้วย คาดว่ามีผู้คนมากกว่า 264 ล้านคนทั่วโลกที่เป็นโรคซึมเศร้า โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ภาวะที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอนี้พบได้บ่อยในผู้หญิงและมีหลายทฤษฎีที่อธิบายถึงสาเหตุที่มาของภาวะดังกล่าว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีความเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้า อย่างไรก็ดี การศึกษาวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า การบริโภคใยอาหารในปริมาณที่สูงเป็นประจำทุกวันนั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าที่ลดลงในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ใยอาหารเป็นสารอาหารที่ได้รับคำแนะนำให้บริโภคในอาหารเพื่อสุขภาพ นั่นเป็นเพราะใยอาหารนั้นดีต่อสุขภาพของคุณในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่การควบคุมน้ำหนักไปจนถึงการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด รวมทั้งในการพบว่าอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ลดลงของภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน – ภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากผลกระทบที่ร้ายแรงและความชุกของภาวะซึมเศร้าจึงมีการศึกษามากมายเพื่อประเมินทางเลือกในการรักษาที่นอกเหนือจากการใช้ยาต้านภาวะซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการเจริญสติ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ในการศึกษาครั้งใหม่นี้เกี่ยวกับผู้หญิงมากกว่า 5,800 คน ในหลายช่วงอายุ นักวิจัยพยายามที่จะตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคใยอาหารกับภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงโดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน ใยอาหารพบมากในผลไม้ ผัก เมล็ดธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว การศึกษาก่อนหน้านี้ได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของใยอาหารสำหรับสุขภาพจิตแล้ว แต่นี่เป็นการศึกษาครั้งแรกที่วิเคราะห์ลึกลงไปถึงหมวดหมู่ของอาหารที่สัมพันธ์กันกับผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ในช่วงอายุที่กว้างขึ้น รวมถึงผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดอีกด้วย – ภาวะซึมเศร้า ใยอาหาร และจุลินทรีย์ในลำไส้ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคใยอาหารและภาวะซึมเศร้า ซึ่งพบว่า ผู้หญิงที่มีสุขภาพจิตดีขึ้นเนื่องจากรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและบริโภคใยอาหารมากขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่พบในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนและวัยหมดประจำเดือน ความเชื่อมโยงระหว่างใยอาหารกับภาวะซึมเศร้าอาจอธิบายได้บางส่วนจากปฏิสัมพันธ์ของระบบทางเดินอาหารและสมอง เนื่องจากมีทฤษฎีที่ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของลำไส้ โดยเฉพาะไมโครไบโอมอาจส่งผลต่อการส่งผ่านระบบประสาท โดยที่ใยอาหารไปช่วยเพิ่มความสมบูรณ์และความหลากหลายของจุลินทรีย์ในรับบทางเดินอาหาร ดังนั้นการบริโภคใยอาหารจึงมีส่วนช่วยให้สุขภาพสมองดีขึ้นโดยการปรับไมโครไบโอมในลำไส้ ใยอาหารเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเพื่อสุขภาพที่แนะนำให้บริโภค นั่นเป็นเพราะดีต่อสุขภาพในหลายๆ […]